วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ระบบประสาท
Nervous System

          คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็วช่วยรวบรวมข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบสนองได้  โดยระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก


:: ระบบประสาทส่วนกลาง ::

   
          ระบบประสาทส่วนกลาง (The Central Nervous System หรือ Somatic Nervous System) เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งในด้านกลไกและทางเคมีภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลังโดยเส้นประสาทหลายล้านเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลางมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.สมอง(Brain) 

     
          สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้



          สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์

ส่วนประกอบสมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้



1.1 สมองส่วนหน้า (Forebrain)
          มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีก ดังนี้
  • ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น 
  • ซีรีบรัม (Cerebrum) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้ 
    1. Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
    2. Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
    3. Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
    4. Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
  • ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเขาออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับประสาทนั้นและยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และแสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด และ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาท ประสาทสัมผัสจำเพาะ (Special Sense) และส่งผ่านไปยัง (Cerebral Cortex) หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสมีหลายหน้าที่สำคัญ คือ ช่วยในการทำงานของระบบสัมผัส (Special Sense) 
  • ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
1.2 สมองส่วนกลาง (Midbrain)
      ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา สมองส่วนกลางเป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ภายในมีส่วนเรียกว่าซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมระบบสั่งการของเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) ซึ่งริเริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

1.3 สมองส่วนท้าย (Hindbrain) 

  • พอนส์ (Pons) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง 
  • เมดัลลา (Medulla) เเป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
  • ซีรีเบลลัม หรือ สมองน้อย (Cerebellum) ประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการประสาทต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา ซีรีเบลลัมเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการควบคุมการสั่งการและมีหน้าที่ที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด  เช่น ความใส่ใจ, และกระบวนการทางภาษา, ดนตรี, และสิ่งกระตุ้นชั่วคราวอื่นๆ

2. ไขสันหลัง (Spinal Cord) 

         เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่ทอดยาวจากสมองไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง กระแสประสาทจาก
ส่วนต่างๆของร่างกายจะผ่านไขสันหลัง มีทั้งกระแสประสาทเข้าและกระแสประสาทออกจากสมองและกระแสประสาทที่ติดต่อกับไขสันหลังโดยตรงไขสันหลังคือโครงสร้างหลักในการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างสมองและระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system)

3. เซลล์ประสาท (Neuron)



          เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลล์ประสาทมีเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสเหมือนเซลล์อื่นๆ แต่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างออกไป เซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์ และเส้นใยประสาทที่มี 2 แบบ คือ เดนไดรต์ (Dendrite) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์และแอกซอน (Axon) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่ การทำงานได้3 ชนิด คือ
  1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับความรู้สึกจากอวัยวะสัมผัส เช่น หู ตา จมูก ผิวหนัง ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงาน
  2. เซลล์ประสาทประสานงาน เป็นตัวเชื่อมโยงกระแสประสาทระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาทสั่งการพบในสมองและไขสันหลังเท่านั้น
  3. เซลล์ประสาทสั่งการ รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลัง เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ


:: การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ::

          สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นจัดเป็นข้อมูลหรือเส้นประสาทส่วนกลางเรียกว่า “ กระแสประสาท ” เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นำไปสู่เซลล์ประสาททางด้านเดนไดรต์ และเดินทางออกอย่างรวดเร็วทางด้านแอกซอน แอกซอนส่วนใหญ่ ่มีแผ่นไขมันหุ้มไว้เป็นช่วงๆ แผ่นไขมันนี้ทำหน้าที่เป็นฉนวนและทำให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น ถ้าแผ่นไขมันนี้ฉีกขาดอาจทำให้กระแสประสาทช้าลงทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ เนื่องจากการรับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางได้ไม่ดี

 :: ระบบประสาทรอบนอก ::

         ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางได้แก่ สมองและไขสันหลังจากนั้นนำกระแสประสาทสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฎิบัติงาน ระบบประสาทรอบนอกจำแนกตามลักษณะการทำงานได้ 2 แบบ ดังนี้
  1. ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นระบบควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่บังคับได้ รวมทั้งการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก 
  2. ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ เป็นระบบประสาทที่ทำงานโดยอัตโนมัติ มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ในสมองและไขสันหลัง ได้แก่

    • การเกิดรีเฟลกซ์แอกชัน (Reflex Action) และเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่อวัยวะรับสัมผัสเช่น ผิวหนัง กระแสประสาทจะส่งไปยังไขสันหลัง และไขสันหลังจะสั่งการตอบสนองไปยังกล้ามเนื้อ โดยไม่ผ่านไปที่สมอง เมื่อมีเปลวไฟมาสัมผัสที่ปลายนิ้วกระแสประสาทจะส่งไปยังไขสันหลังไม่ผ่านไปที่สมอง ไขสันหลังทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อที่แขนเกิดการหดตัว เพื่อดึงมือออกจากเปลวไฟทันที
นอกจากนี้ระบบประสาทรอบนอกหรือเส้นประสาทนั้นยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ



1. เส้นประสาทสมอง (อังกฤษ: Cranial nerves) 
           เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากสมองโดยตรง ซึ่งต่างจากเส้นประสาทไขสันหลังที่ออกมาจากแต่ละส่วนของไขสันหลัง จัดอยู่ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง มีทั้งหมด 12 คู่ 




เส้นประสาทสมอง
คู่ที่
ชื่อ
หน้าที่
รับความรู้สึก (sensory nerve) เส้นประสาทกลุ่มนี้มีตัวเซลล์ประสาทอยู่ในปมประสาทเซลล์สมอง
1
ออลแฟกทอรี (olfactory nerve)
รับกลิ่นจากเยื่อหุ้มจมูก
2
ออพติก (optic nerve)
รับภาพจากเรตินา
8
ออดิทอรี (auditory nerve)
แยกออกเป็น 2 แขนง
- การได้ยิน
-การทรงตัว
สั่งการ (motor nerve)โดยสั่งการจากสมองไปยังอวัยวะตอบสนอง

3
ออคิวโลมอเตอร์ (oculomotor nerve )
สั่งกล้ามเนื้อลูกตา ทำให้ลูกตาเคลื่อนไหวได้ และทำให้ลืมตา
4
ทอเคลีย (trochlea nerve )
สั่งลูกตา มองลงและมองไปทางหางตา
6
แอบดิวเซนส์ (abducens nerve)
สั่งการออกจากพอนส์ไปยังกล้ามเนื้อลูกตาทำให้เกิดการชำเลือง
11
แอกเซสซอรี (accessory nerve)
สั่งกล้ามเนื้อคอเอียงคอและยกไหล่
12
ไฮโพกลอสซัล (hypoglossal nerve)
สั่งการให้เกิดกาเคลื่อนไหวของลิ้น
รับความรู้สึกและสั่งการ  เรียกว่าเส้นประสาทประสม (mixed nerve)
5
เส้นประสาทไตรเจอมินัล
(trigerminal nerve)
แบ่งออกเป็น 3 แขนง
-รับความรู้สึกจากใบหน้า
-สั่งกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร
7
เฟเชียล (facial nerve)
เส้นประสาทไตรเจอมินัล
สั่งการ กล้ามเนื้อหน้าทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน และยังรับรสจากปลายลิ้น
9
กลอสโซฟารินเจียล (glossopharyngeal nerve)
รับความรู้สึกจากช่องคอ และรับรส และนำกระแสประสาทเกี่ยวกับการกลืน และต่อมน้ำลายใต้หูให้หลั่งน้ำลาย
10
เวกัส (vegus nerve)
รับความรู้สึกจากลำคอ กล่องเสียง ช่องอก ช่องท้อง 

2. เส้นประสาทไขสันหลัง 


          ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้ามายังไขสันหลังรากเส้นประสาทด้านหน้า (ventral root) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor nerves) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทหรือคำสั่งจากไขสันหลังออกไปยังกล้ามเนื้อหรือต่อมต่างๆภายในร่างกาย

เส้นประสาทไขสันหลังในคนมีทั้งหมด 31 คู่ ประกอบด้วย 



      เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอ (cervical nerves) 8 คู่          

บริเวณอก (thoracic nerves) 12 คู่          
บริเวณเอว (lumbar nerves) 5 คู่          
บริเวณกระเบนเหน็บ (sacral nerves) 5 คู่           
บริเวณกระดูกก้นกบ (coccygeal nerves) อีก 1 คู่

เส้นประสาทไขสันหลังมีใยประสาทที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน 4 ชนิด คือ
  • ใยประสาทนำความรู้สึกที่ผิวหนัง ทำให้เรารู้สึกร้อน เย็น รู้สึกว่าขณะหนึ่งๆกำลังเดิน ยืน วิ่ง หรือทรงตัวเช่นไร
  • ใยประสาทที่นำคำสั่งจากไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อลาย ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทั้งแบบที่บังคับได้และแบบที่บังคับไม่ได้ ถ้าเซลล์ประสาทนี้ถูกทำลายไป จะเกิดอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อตามอวัยวะต่างๆเช่น แขน ขา
  • ใยประสาทชนิดนำกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกของหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆที่อยู่ในช่องท้องและช่องทรวงอก ใยประสาทนี้ถูกกระตุ้นเมื่ออวัยวะภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ลำไส้พองตัว หลอดเลือดหดตัว 
  • ใยประสาทเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ ใยประสาทนี้ไปสิ้นสุดที่กล้ามเนื้อเรียบและต่อมต่างๆภายในร่างกาย เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเคลื่อนไหวของลำไส้


:: พฤติกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ::

          พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นปฎิกิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อการโต้ตอบต่อสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกายเช่น
  • สิ่งเร้าภายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
  • สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น
          กิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอาศัยการทำงานที่ประสานกันระหว่างระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อและระบบต่อมมีท่อ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. การตอบสนองเมื่อมีแสงเป็นสิ่งเร้า เมื่อได้รับแสงสว่างจ้า มนุษย์จะมีพฤติกรรมการหรี่ตาเพื่อลดปริมาณแสงที่ตาได้รับ


2. การตอบสนองเมื่ออุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า ในวันที่มีอากาศร้อนจะมีเหงื่อมาก เหงื่อจะช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย เพื่อปรับอุณหภูมิภายในร่างกายไม่ให้สูงเกินไป เมื่อมีอากาศเย็นคนเราจะเกิดอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อ หรือเรียกว่า “ ขนลุก ”


3. เมื่ออาหารหรือน้ำเข้าไปในหลอดลมเกิดพฤติกรรมการไอหรือจาม เพื่อขับออกจากหลอดลม

4. การเกิดพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ เป็นพฤติกรรมการตอบสนองหรือตอบโต้ทันทีเพื่อความปลอดภัยจากอันตราย เช่น



  • เมื่อฝุ่นเข้าตามีพฤติกรรมการกระพริบตา
  • เมื่อสัมผัสวัตถุร้อนจะชักมือจากวัตถุร้อนทันที
  • เมื่อเหยียบหนามจะรีบยกเท้าให้พ้นหนามทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น